ส่วนประกอบภายใจของเมาส์โดยทั่วไปจะเป็นลูกบอลยางทรงกลม ซึ่งทำมาจากลูกเหล็กและหุ้มยางเอาไว้ เพื่อให้ลูกบอลยางมีน้ำหนักและติดหนึบกับแผ่นรองเมาส์ นอกจากนั้นยังมีลูกกลิ้งทรงกระบอก 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากกัน สำหรับใช้ในการระบุทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ในแนว ซ้าย-ขวา บน-ล่าง (แกน X , Y) ที่ปลายของลูกกลิ้งทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกสีดำลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบนบางเจาะช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามแนวรัศมีของวงกลมและมีอุปกรณ์ตรวจจับแสง (photo detector) ติดกับอุปกรณ์ตรวจจับแสงจะประกอบด้วย LED จะมีสวิตซ์ของปุ่มคลิกเมาส์และแผงวงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์(Micro controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสวิตซ์และอุปกรณ์รับแสงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณข้อมูลสำหรับอินเทอร์เฟส (Interface) กับคอมพิวเตอร์
การทำงานของเมาส์ คือ การเลื่อนเมาส์ ลูกบอลยางก็จะหมุนกลิ้งไปตามทิศทางของเมาส์ที่เลื่อนไปซึ่งการหมุนของลูกบอลยางจะมีผลให้ลูกกลิ้งหมุนตามได้ด้วยในแนวแกน (X , Y) ซึ่งการหมุนของลูกกลิ้งก็จะส่งผลให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายหมุนตามไปด้วยเช่นกัน การหมุนของแผ่นพลาสติกทำให้แสงจาก LED ที่อุปกรณ์รับแสงได้รับแตกต่างกันไปตามมุมองศาของการหมุนตัวรับแสงก็จะส่งสัญญาณที่แตกต่างกันไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller) ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้มีการเคลื่อนตำแหน่งของเมาส์ไปในทิศทางและระยะทางเท่าใด
เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป (keyboard)
ที่มา: http://www.learners.in.th/blogs/posts/290269
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น